วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

5 : I can change! : I see

I can change! : I see



กลับมาใหม่ในเวอร์ชั่นที่ไฮโซและเป็นผู้เป็นคนมากกว่าเดิมค่ะ หลังจากได้เรียนรู้วิธีการเล่าของคนญี่ปุ่น และขัดเกลาภาษาเป็นที่เรียบร้อย ก็รู้สึกตัวว่า um… I see.



 赤ちゃん一人と犬一匹がいました。赤ちゃんは、犬の背中に乗って遊ぼうと思っています。赤ちゃんは、静かに寝ている犬のところへハイハイをして近づいていますが、犬はパッと目を覚ましてしまいました。犬に気づかれてしまったから、赤ちゃんは慌てて、今度こそ犬の後ろから回り込もうとします。しかし、犬は後ろを向いて待ち構えていたみたいです。今度こそ作戦成功だと思っていた赤ちゃんは犬とまた顔を合わせてしまい、大変驚いていたのです。


สิ่งที่คิดว่าตัวเองแตกต่างกับวิธีการเล่าของคนญี่ปุ่นคือ เราจะชอบติดนิสัย เปลี่ยนมุมมอง point of view ไปเรื่อยๆ ต่างจากคนญี่ปุ่นที่มักจะกำหนด point of view ไว้ตายตัว เช่น หากเล่าในมุมมองของ 赤ちゃん ก็จะใช้ประธานเป็นตัวเด็กไปตลอดทั้งเรื่อง และมักจะเลือกใช้กริยารูปถูกกระทำในการบรรยายด้วย เช่น บรรยายว่า ถูกสุนัขรู้สึกตัวแทนที่จะเปลี่ยนประธานของประโยคเป็น สุนัขรู้สึกตัวอย่างที่คนไทยคุ้นเคย

ดังนั้นเราจึงติดนิสัยเปลี่ยนประธานตามแบบนิสัยคนไทย แม้ว่าจะกำลังเล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่นก็ตาม อีกอย่างคือ ในภาษาไทยไม่นิยมพูดรูปถูกกระทำ ดังนั้นเวลาเล่าเรื่องก็มักจะเลี่ยงการใช้รูปถูกกระทำที่ไม่คุ้นเคย

และสุดท้ายคือ คิดว่าตัวเองพูดกาล เวลาในประโยคมั่ว คือชอบเอา ています ปนกับ ていました นั่นเอง




เจอกันคราวหน้าค่ะ สวัสดีค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น