วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

8 : 「無人島」 การ์ตูนกรุ๊ปเลือด ;)

「無人島」 มาแปลการ์ตูนกัน ;)


ฮายค่ะ คราวนี้เรามาแปลการ์ตูนกันบ้างดีกว่า
โดยการ์ตูนที่จะนำเสนอในคราวนี้เป็นการ์ตูนสั้น เกี่ยวกับนิสัยของกรุ๊ปเลือดแต่ละกรุ๊ปค่ะ!


ผู้แต่งหนังสือเล่มนี้คือ Park Dong Seon ชาวเกาหลีค่ะ

อาจจะงงว่า ตกลงเป็นภาษาเกาหลีหรอ? ใช่ค่ะ จริงๆ แล้วมันเป็นหนังสือของเกาหลี แต่คือมันฮิตไง มีการแปลไว้หลายภาษา เราจึงเลือกฉบับภาษาญี่ปุ่นที่เราซื้อไว้เมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว มาแปลค่ะ


มาเริ่มกันที่ต้นฉบับเนอะ







อันนี้คือที่แปลไทยค่ะ






มาสรุปศัพท์กัน

無人島(むじんとう)         เกาะร้าง
反応(はんのう)             การตอบสนอง   
順応(じゅんおう)           การปรับตัว
気楽(きらく)                สบายใจ / ไร้กังวล
生存(せいぞん)            การรอดชีวิต
本能(ほんのう)             สัญชาตญาณ
楽勝(らくしょう)             สบายมาก
翻弄(ほんろう)             ทำให้หัวปั่น / หลอกล่อให้งง
俗世(ぞくせい)             ทางโลก


เคยแปลการ์ตูนแนวรักกุ๊กกิ๊กให้สำนักพิมพ์อยู่พักหนึ่งค่ะ แล้วก็พบว่าตัวเองไม่เหมาะกับการแปลแนวใสๆ ความรักวัยรุ่นเลยแม้แต่น้อย ...โถ่

ยอมรับเลยค่ะว่าการแปลภาษาต่างประเทศมาเป็นไทย ไม่ว่าจะอิงลิชหรือเจแปนนิส... ยากทั้งนั้น มันเป็นอารมณ์แบบอ่านรู้เรื่องนะ แต่พอจะเอามาแปลเป็นไทยนี่สิ เลือกคำย้ากยาก แถมแปลเสร็จอ่านรู้เรื่องคนเดียวอีกต่างหาก ฮ่าๆ

คือคำศัพท์ถ้าแปลไม่ออก เราสามารถเปิดดิกได้นะ แต่พวกสำนวน หรือตอนเลือกคำให้มันเข้ากับวัฒนธรรมไทย หรือเลือกใช้คำให้คนอ่านซึ่งเป็นคนไทยเข้าใจนี่สิ... ปัญหาใหญ่

สรุปคือ สำหรับเรา ตอนแปลมันไม่ยากหรอกค่ะ แต่มันยากตอน “เรียบเรียงออกมาเป็นภาษาไทยให้คนอื่นอ่านแล้วรู้เรื่อง” นี่แหละค่ะ

สวัสดี และเจอกันใหม่คราวหน้าค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

7 : I can change! : New me

I can change! : New me

はい。今日は赤ちゃんと犬の話を話します。(はい)あのー、赤ちゃん一人と犬一匹がいました。(はいはい)で、その赤ちゃんは犬の背中に乗って遊ぼうと思っています。(ああ、はい)だから、赤ちゃんは、えー、寝ている犬のところにハイハイして近づいていきます。(はい)でも、そのー、パッと、えー、犬はパッと目を覚ましてしまいました。(はい)だから、赤ちゃんは、そのー、犬の背中に乗れなったのです。(おお、犬が動いているのですか?)はい。そうそうそう。そうです。犬は目を覚まして、起きたのですね。だから、まあ、赤ちゃんは犬の背中に乗れなかった。(おお)あとは、そのー、赤ちゃんは今回こそ犬の背中に乗ろうと思って、もう一回犬の背中に、犬が気づかないように(はい)静かに犬の背中に回り込んだのです。(分かりました)でも、犬は、そのー、後ろを向いて赤ちゃんを待っているみたいな感じです。(お、なるほど)赤ちゃんは犬の顔を見て慌てて、なんで今度も乗れなかったのかと思って、大変驚いていたのです。(ああ)はい、これで終わります。(はい)

คิดว่าตัวเองทำได้ดีขึ้นในฐานะของผู้เล่าคือ มีการเลือกใช้คำศัพท์ที่หลากหลาย และสำนวนที่แปลกใหม่กว่าเดิมจากการเล่าครั้งแรกที่ยังไม่รู้จักคำศัพท์ เช่น ครั้งนี้มีการใช้คำว่า ハイハイ และ 回り込んだ ซึ่งครั้งแรกสุดไม่ได้ใช้สำนวนคำศัพท์พวกนี้เลย อีกอย่างคือ มีการเว้นช่วง ให้ผู้ฟังโต้ตอบ あいづちมากขึ้น คือเล่าแล้วหยุดเป็นช่วงๆ ไม่ใช่เล่าแบบติดกันไม่หยุด ไม่สนใจที่จะโต้ตอบกับผู้ฟังแบบครั้งแรก

ในส่วนของผู้ฟังคือ มีการโต้ตอบ あいづち กับผู้เล่ามากขึ้นกว่าเก่า เนื่องจากครั้งแรกไม่ค่อยได้พูดแทรกผู้เล่าเท่าไหร่ เพราะติดนิสัยแบบคนไทยคือ ไม่อยากพูดแทรกในขณะที่ผู้อื่นกำลังพูดอยู่




ค่ะ ก็จบกันไปแล้วเนอะ กับมิชชั่น I can change!
ก็ไม่รู้ว่า change มาก change น้อยนะ ฮ่าๆ
ยังไงก็ไว้เจอกันใหม่คราวหน้าค่ะ บะบายย ยยยย


วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

6 : 役不足 VS 力不足

役不足 VS 力不足



มาค่ะ วันนี้เราจะมานำเสนอคำที่(เขาว่ากันว่า)แม้แต่ชาวญี่ปุ่นเองก็ใช้กันอย่างสับสนค่ะ

โดย... คำที่ว่าก็คือ 「役不足」 และ 「力不足」 ค่ะ

役不足(やくぶそく) แปลตรงตัวค่ะ ว่า งานที่ได้รับมอบหมาย เป็นงานที่ต่ำกว่าความสามารถของตน เอาง่ายๆ ก็ประมาณว่า “โอ้ย เอาอะไรมาให้ทำเนี่ย ดูถูกความสามารถมาก งานแบบนี้ใครๆ ก็ทำได้เหอะ!” อะไรทำนองนี้

力不足(ちからぶそく)คำนี้แปลกลับกันค่ะ แปลว่า ความสามารถของเราต่ำกว่างานที่ได้รับมอบหมาย ง่ายๆ ก็ “ทำไม่ไหวอ่ะ งานไรอ่ะ ยากไปป่ะ??” อารมณ์นี้

ทีนี้ เราก็ได้ไปทำการศึกษามาค่ะ เขาว่ากันว่า ชาวญี่ปุ่นสมัยนี้มักจะเข้าใจความหมายของคำว่า  「役不足」 ผิด โดยเข้าใจว่าคำคำนี้มีความหมายเหมือนคำว่า 「力不足」 แทน

ตัวอย่าง
นักแสดงหนุ่มไฟแรงให้สัมภาษณ์กับรายการโทรทัศน์ถึงภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ที่ตนแสดงนำ โดยสุดหล่อได้กล่าวถึงบทตัวเองว่า
「僕などでは役不足で・・・・・」 >>>役不足 ฉันเจ๋งกว่างานกระจอกๆ นี่เยอะ!!!

แหม... ให้สัมภาษณ์มาแบบนี้ ถ้าผู้กำกับฟังอยู่คือเงิบนะ
จริงๆ คือหนุ่มสุดฮอตน้องใหม่วงการบันเทิง(นี่คือการสมมติ อย่าตกใจไป แต่งเองค่ะ) ต้องการจะบอกว่า บทที่ได้อ่ะ มันยาก เราเป็นน้องใหม่ อาจจะทำไม่ได้ดี คือไม่ค่อยมั่นใจ... นั่นเอง

แต่... ใช้คำผิดไง อันนี้มันจะกลายเป็น บทห่วยอ่ะ แค่นี้ดูถูกความสามารถฉันมาก!

เพราะฉะนั้น นักแสดงดาวรุ่งพุ่งแรงคนนี้ ควรจะพูดว่าอะไรแทนคะ?
.
.
.
「僕などでは力不足で・・・・・」
ใช่ค่ะ เจ๋งมากค่ะ


ยากเนอะ...
เพื่อการนำไปใช้อย่างง่ายและถูกต้อง เราก็มาดูเทคนิคกันดีกว่า

役が不足だから、役不足

นี่ไง! ถ้าเราจำแบบนี้ เราก็จะไม่สับสนไง เพราะว่า งานมันห่วย ก็เลย ไม่ชอบงานนี้!
ส่วนตัวเราก็จะจำแบบนี้แหละค่ะ เกิดเอาไปใช้ผิดความหมาย อาจจะโดนคนเกลียดขี้หน้าหาว่า “อวดดี” เอาได้... เพราะฉะนั้น จำค่ะ ในอนาคตน่าจะมีประโยชน์ ...เนอะ


วันนี้ก็รู้กันไปอีกสองคำเนอะ ไว้เจอกันใหม่คราวหน้า สวัสดีค่ะ

5 : I can change! : I see

I can change! : I see



กลับมาใหม่ในเวอร์ชั่นที่ไฮโซและเป็นผู้เป็นคนมากกว่าเดิมค่ะ หลังจากได้เรียนรู้วิธีการเล่าของคนญี่ปุ่น และขัดเกลาภาษาเป็นที่เรียบร้อย ก็รู้สึกตัวว่า um… I see.



 赤ちゃん一人と犬一匹がいました。赤ちゃんは、犬の背中に乗って遊ぼうと思っています。赤ちゃんは、静かに寝ている犬のところへハイハイをして近づいていますが、犬はパッと目を覚ましてしまいました。犬に気づかれてしまったから、赤ちゃんは慌てて、今度こそ犬の後ろから回り込もうとします。しかし、犬は後ろを向いて待ち構えていたみたいです。今度こそ作戦成功だと思っていた赤ちゃんは犬とまた顔を合わせてしまい、大変驚いていたのです。


สิ่งที่คิดว่าตัวเองแตกต่างกับวิธีการเล่าของคนญี่ปุ่นคือ เราจะชอบติดนิสัย เปลี่ยนมุมมอง point of view ไปเรื่อยๆ ต่างจากคนญี่ปุ่นที่มักจะกำหนด point of view ไว้ตายตัว เช่น หากเล่าในมุมมองของ 赤ちゃん ก็จะใช้ประธานเป็นตัวเด็กไปตลอดทั้งเรื่อง และมักจะเลือกใช้กริยารูปถูกกระทำในการบรรยายด้วย เช่น บรรยายว่า ถูกสุนัขรู้สึกตัวแทนที่จะเปลี่ยนประธานของประโยคเป็น สุนัขรู้สึกตัวอย่างที่คนไทยคุ้นเคย

ดังนั้นเราจึงติดนิสัยเปลี่ยนประธานตามแบบนิสัยคนไทย แม้ว่าจะกำลังเล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่นก็ตาม อีกอย่างคือ ในภาษาไทยไม่นิยมพูดรูปถูกกระทำ ดังนั้นเวลาเล่าเรื่องก็มักจะเลี่ยงการใช้รูปถูกกระทำที่ไม่คุ้นเคย

และสุดท้ายคือ คิดว่าตัวเองพูดกาล เวลาในประโยคมั่ว คือชอบเอา ています ปนกับ ていました นั่นเอง




เจอกันคราวหน้าค่ะ สวัสดีค่ะ

4 : I can change! : By myself

I can change! : By myself


สวัสดีค่ะ ไม่ได้อัพมาสักพัก ในที่สุดเราก็กลับมาแล้ว เย่!
วันนี้เรามาพร้อมกับมิชชั่นค่ะ ...ถอดเสียงตัวเอง เรื่อง เด็กกับน้องหมา



 赤ちゃん一人と犬が一匹います。で、その赤ちゃんは、ええ、犬に、犬の背中に乗りたくて、赤ちゃんは犬の方に向かっていきます。で、犬に会うと、その、赤ちゃんの顔が犬の顔と会って乗れないんです。なんか前だから乗れないですね。(うん)だから、赤ちゃんは犬の後ろの方に向かっていきます。で、赤ちゃんが犬に会うと、その犬は振り向いて、赤ちゃんの顔と会った。だから、赤ちゃんは犬に乗れなかったんです。オッケー??分かった?(うん、分かった。)



สิ่งที่คิดว่าไม่ดีนะคะ

คิดว่าตอนที่เล่าเรื่องอยู่เนี่ย ใช้ tense ได้มั่วซั่วมากถึงมากที่สุด คือใช้ปนกันมั่วมากค่ะ ています/ていました//る คงด้วยความที่เป็นคนไทยด้วยแหละค่ะ คือเวลาเราเล่าเรื่องเนี่ย ภาษาไทยมันไม่มี tense ถูกไหมคะ เพราะฉะนั้นเวลาเราพูดในภาษาอื่น เราก็จะติดไม่ใช้ tense ซึ่งถ้าให้เขียน ก็จะมีสติและเลือกใช้ได้ถูก แต่ตอนที่เราสนทนากับผู้อื่นในชีวิตจริงนี่สิ คือเราจะตื่นเต้น และพูดสิ่งที่ชินค่ะ tense ก็เลยหาย...

สำนวนที่อยากจะพูดแต่คิดไม่ออกเพราะไม่มีความรู้ เช่น ハイハイ ค่ะ คำนี้คือการคลานของทารกค่ะ พูดตามจริงคือ เราเป็นคนที่ถนันการอ่านมากกว่าการพูด หรือพวกแกรมม่า เพราะฉะนั้นถ้าเจอคำนี้ในตอนที่อ่านก็จะเข้าใจ แต่พอให้มาพูดเองก็จะคิดคำศัพท์ไม่ออกค่ะ

ต่อมาคือคำว่า 近づく แปลว่า เข้าใกล้ ...ทำไมถึงนึกไม่ออก??

สุดท้ายคือ 後ろから回り込む ซึ่งแปลว่า อ้อมไปเข้าทางด้านหลัง ...คิดไม่ออกเหมือนกัน ขอตัวไปกินหญ้าแป็บ ฮ่าๆ




จบค่ะ เจอกันเอ็นทรี่หน้า บะบายย ยยย ยยย